[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 1 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
poll

  
เกี่ยวกับ   
 

กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
    รายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
    1. กลุ่มงานนิเทศติดตาม และพัฒนาระบบบริหาร และกระบวนการเรียนรู้
          1.1 งานนิเทศการศึกษา
                (1) ศึกษา วิเคราะห์ วิสัยทัศน์ นโยบาย และจุดเน้น การ จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในทุกระดับ
                (2) กำหนดจุดประสงค์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์การนิเทศการศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบาย และจุดเน้น รวมทั้ง สภาพความต้องการในการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษา และภาคีเครือข่าย
                (3) วิเคราะห์เป้าหมายการนิเทศทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อกำหนดทิศทางการนิเทศ
                (4) ศึกษา วิเคราะห์ รวมทั้งกำหนดรูปแบบ และกลยุทธ์การนิเทศ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
                (5) จัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศในแต่ละปีงบประมาณ โดยการประสานแผนการนิเทศกับสถานศึกษาและภาคี เครือข่าย รวมทั้งหน่วยศึกษานิเทศก์(ส่วนกลาง)
                (6) ปฏิบัติการนิเทศตามแผนที่กำหนด
                (7) พัฒนา และส่งเสริมให้เกิดระบบการนิเทศที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ทั้งนิเทศภายใน e-Supervision ประชา นิเทศ และรูปแบบการนิเทศอื่น ๆ ที่เหมาะสม
                (8) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาใช้กระบวนการ ตรวจสอบ ทบทวนคุณภาพการศึกษา (Quality Audit) ซึ่ง เป็นขั้นตอนหนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) เป็นส่วนหนึ่งของการนิเทศการศึกษา โดยดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
                (9) พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาทุกระดับให้ตระหนักถึง ความสำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวคับการนิเทศการศึกษา เพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนิเทศการศึกษาที่มีคุณภาพ
                (10) จัดทำรายงานการนิเทศอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ รวมทั้งประสานกับหน่วยศึกษานิเทศก์(ส่วนกลาง) เพื่อให้ รายงานการนิเทศนำเสนออย่างเป็นภาพรวมได้
          1.2 งานติดตามและ ประเมินผลระบบ บริหารและการ จัดการเรียนรู้
                (1) ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์สภาพระบบบริหาร และการ จัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งภาคีเครือข่าย
                (2) วิจัย และพัฒนารูปแบบ และกระบวนการติดตามและ ประเมินผลที่เหมาะสมกับระบบบริหารและการจัดการเรียนรู้ ของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
                (3) ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายพัฒนา วิธีการติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการกับการตรวจสอบ ทบทวนคุณภาพการศึกษา (Quality Audit)
                (4) พัฒนาขอบข่าย/หลักสูตร รูปแบบ และกระบวนการพัฒนา บุคลากรและภาคีเครือข่ายเพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติ หน้าที่ รวมทั้งมี
                (5) พัฒนารูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการติดตามและ ประเมินผลระบบบริหาร และการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา และภาคีเครือข่าย ทั้งในระดับสถานศึกษา/ภาคีเครือข่าย และ การเชื่อมโยงเป็นภาพรวมของสังกัดสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                (6) ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายนำผล การติดตามและประเมินผล มาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง พัฒนาระบบบริหาร และการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น
                (7) เผยแพร่ผลการวิจัยและพัฒนาระบบริหารและการจัดการ เรียนรู้ เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
          1.3 งานพัฒนา ทรัพยากรบุคคล และภาคีเครือข่าย
                (1) ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ บทบาท หน้าที่ และภารกิจของ บุคลากรในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/ กทม. สถานศึกษา และภาคีเครือข่าย
                (2) พัฒนาระบบและกระบวนการติดตามผลและประเมินผล การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่รับผิดชอบ ของบุคลากรและภาคี เครือข่าย
                (3) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษา มีระบบการติดตามและ ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่รับผิดชอบ ของ บุคลากรและภาคีเครือข่าย และใช้ข้อมูลจากการติดตามและ ประเมินผลเพื่อการพัฒนาบุคลากรและภาคีเครือข่ายอย่าง เหมาะสม
                (4) สำรวจ รวบรวม และสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความจำเป็น และปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่รับผิดชอบ ของ บุคลากรทุกระดับและภาคีเครือข่าย
                (5) พัฒนาขอบข่าย/หลักสูตร รูปแบบและกระบวนการพัฒนา บุคลากรและภาตีเครือข่าย เพื่อให้มีเจตคติที่ดี ต่อการปฏิบัติ หน้าที่รวมทังมีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่เพียงพอต่อ การปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่รับผิดชอบ
                (6) ส่งเสริม และพัฒนาทีมวิทยากรมืออาชีพ โดยเป็นเครือข่าย เชื่อมโยงทั้งระดับส่วนกลาง ภูมิภาค และจังหวัด
                (7) จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรและภาคีเครือข่าย ทั้งระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งแผนปฏิบัติการประจำปี
                (8) ดำเนินการพัฒนาบุคลการและภาคีเครือข่าย ด้วยรูปแบบ และกระบวนการที่หลากหลาย อาทิ การฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงาน e-Learning เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการ ทำงาน และประสบการณ์ โดยความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                (9) พัฒนาระบบการเสริมขวัญ กำลังใจแก'บุคลากรและภาคีเครือข่าย อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
          1.4 งานพัฒนาระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้
                (1) ศึกษา วิเคราะห์ กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย บนพื้นฐานของความต้องการและความจำเป็นในการเรียนรู้ของผู้เรียน
                (2) วิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามบริบทของสถานศึกษา ภาคีเครือข่ายและชุมชน/ท้องถิ่น
                (3) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในลักษณะการวิจัยในชั้นเรียน
                (4) เผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
                (5) ส่งเสริม สนับสมุนให้นำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อเป้าหมายขององค์กร ทั้งระดับสำนักงาน กศน.จังหวัดสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และชุมชน/ท้องถิ่น
                (6) ส่งเสริม สนับสมุน ให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice) ในการนำความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาและยกระดับความรู้ โดยวิธีการที่หลากหลาย อาทิ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ICT เป็นต้น
                (7) สังเคราะห์ และประมวลองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                (8) เผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และชุมชน/ท้องถิ่น
    2. กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
          2.1 งานส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

                (1) ศึกษาระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตลอดจนประกาศ กฎเกณฑ์ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
                (2) ศึกษา ต้นคว้า หลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานการศึกษานอกระบบ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรฐานการศึกษาชาติและมาตรฐานการศึกษาประเภทอื่น
                (3) ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพและระบบการประกัน คุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรทุกคน
                (4) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาพัฒนาตัวบ่งชี้ เกณฑ์การ พิจารณา และเกณฑ์การประเมินภายใต้มาตรฐานการศึกษานอกระบบที่ สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน บริบทของชุมชน/พ้องถิ่น และสถานศึกษา
                (5) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาพัฒนามาตรฐานการศึกษา ระดับสถานศึกษาเพิ่มเติมจากมาตรฐานการศึกษานอกระบบ ตามความ จำเป็น โดยสอดคล้องกับบริบท และความต้องการของชุมชน/พ้องถิ่น
                (6) ร่วมกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา ทั้งระดับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และระดับ สถานศึกษา
                (7) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาผดุงระบบประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการ จัดการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
                (8) ส่งเสริม สนับสมุน ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษาด้วยกัน
                (9) นิเทศ ติดตามผล และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
          2.2 งานตรวจสอบ คุณภาพภายใน สถานศึกษา
                (1) ศึกษา ต้นคว้า และวิเคราะห์หลักการ และกระบวนการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพภายในสถานศึกษา ทั้งระดับสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(ส่วนกลาง) และ ระดับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร
                (2) นิเทศสถานศึกษา ให้สามารถดำเนินการตามแผนพัฒนา คุณภาพการศึกษา และการตรวจสอบ ทบทวนคุณภาพภายใน สถานศึกษา โดยวิธีการประเมินตนเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                (3) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบและ ทบทวนคุณภาพภายในเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อม ทั้งบันทึกและจัดเก็บผลการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ
                (4) ร่วมกับสถานศึกษาในการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา เพื่อกำหนดแนวทาง การปรับปรุง และพัฒนาสถานศึกษา ให้สามารถผ่าน การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด
                (5) จัดตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบและให้ความช่วยเหลืออย่างเป็น ระบบแก่สถานศึกษาที่ยังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพตาม มาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด
                (6) จัดตั้งคณะกรรมการระดับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด เพื่อตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา เพื่อกำหนดเป็น นโยบายในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
                (7) จัดทำระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา และการประเมินคุณภาพสถานศึกษา
                (8) คัดเลือกสถานศึกษาที่มีระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาที่สมควรเป็นตัวอย่าง และสถานศึกษาที่ผ่านการประเมิน คุณภาพการศึกษา เพื่อเผยแพร่แก่สถานศึกษาสำหรับการแลกเปลี่ยน เรียนรู้
                (9) นิเทศ ติดตามผล สถานศึกษาทุกแห่งให้สามารถดำเนินการ ประกันคุณภาพสถานศึกษาจนสามารถผ่านการประเมินคุณภาพ การศึกษาได้
            2.3 งานส่งเสริมและ ประสานงานการ ประเมินคุณภาพการศึกษา
                (1) ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาดำเนินการประเมินตนเองตาม ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และจัดทำรายงานการ ประเมินตนเองของสถานศึกษา เป็นประจำทุกปี
                (2) พิจารณาให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อสถานศึกษาในการ จัดทำรายงาน การประเมินตนเองของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
                (3) ประสานงานกับสถานศึกษาที่มีความพร้อมรับการประเมิน คุณภาพการศึกษา เพื่อเสนอรายชื่อต่อสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
                (4) ประสานงานกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา (องค์การมหาชน) ในการดำเนินการประเมินคุณภาพ การศึกษาของสถานศึกษา
                (5) ประสาน และติดตามผลการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อนำข้อมูลและประสบการณ์มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
            2.4 งานวิจัยและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
                (1) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา ของแต่ละหน่วยงาน
                (2) ร่วมกับสถานศึกษาดำเนินการวิจัยและพัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้เกณฑ์การพิจารณาและเกณฑ์การประเมิน ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                (3) สังเคราะห์ผลการศึกษา วิจัย ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ การประเมินคุณภาพการศึกษา
                (4) เผยแพร่และส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษานำผลการศึกษา วิจัย ไปใช้ในการปรับปรุง และพัฒนาระบบบริหารและการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
                (5) วิจัยและพัฒนาการผดุงระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง
                (6) นิเทศติดตามผลการวิจัยมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ เกณฑ์การพิจารณาและ เกณฑ์การประเมิน
                       ของสถานศึกษา เพื่อนำผลมามาใช้ในการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
    3กลุ่มงานวัดผลและ ประเมินผลการศึกษา
            3.1 งานส่งเสริมการวัดผลและประเมินผลการศึกษา

                (1) ศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบและวิธีการวัดผลและประเมินผลการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                (2) ส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล โดยการศึกษาด้วยตนเอง
                (3) ส่งเสริม สนับสมุน และพัฒนาผู้บริหาร ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถใช้รูปแบบ และวิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย โดยสอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน และกระบวนการเรียนรู้
                (4) ส่งเสริม สนับสมุนให้ครูสามารถพัฒนากระบวนการและวิธีการวัดผลและประเมินผลที่สะท้อนความรู้ ความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้
            3.2 งานพัฒนาและให้บริการเครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษา
                (1) รวบรวมเครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                (2) ศึกษา วิเคราะห์เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่สอดคล้องกับหลักสูตร/จุดประสงค์/เป้าหมายของแต่ละโครงการ/กิจกรรม
                (3) ปรับปรุง และพัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำ โดยครอบคลุมภารกิจการจัดการเรียนรู้ทุกด้านของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
                (4) พัฒนาระบบคลังข้อสอบ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมเครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่มีคุณภาพสำหรับให้บริการแก่สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
                (5) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่มีคุณภาพซึ่งสอดคล้องลับลักษณะและอุดประสงค์/เป้าหมายของการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในแต่ละโครงการ/กิจกรรม
                (6) ให้บริการเครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพแก'สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
                (7) จัดให้มีระบบเครือข่ายในการสร้าง และพัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่มีคุณภาพ และจัดระบบการให้การให้บริการที่เชื่อมโยงระหว่างสถานศึกษาและภาคี เครือข่ายในพื้นที่ที่รับผิดชอบและพื้นที่อื่น
            3.3 งานนิเทศติดตาม การวัดผลและ ประเมินผลการ ศึกษา
                (1) ศึกษา ค้นคว้า และวิเคราะห์ แนวทางการนิเทศ ติดตามการ วัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย
                (2) นิเทศสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย ให้สามารถ ดำเนินการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีคุณภาพและมี ประสิทธิภาพ
                (3) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศและรายงาน จากการวัดผล และประเมินผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัด การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                (4) ร่วมกับสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายในการวิเคราะห์ผลของ การวัดผลและประเมินผลในแต่ละโครงการ/กิจกรรม เพื่อกำหนด แนวทางการปรับปรุง และพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
                (5) จัดตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือ เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลอย่างเป็นระบบ แก่สถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
                (6) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการนิเทศ ติดตามการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย ในภาพรวม
                (7) เผยแพร่ผลการนิเทศ ติดตามการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย เพื่อประโยชน์ต่อการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาการวัดผลและประเมินผล
            3.4 งานทดสอบ ทางการศึกษา
                (1) ศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับระบบ และวิธีการทดสอบทาง การศึกษา สำหรับผู้เรียนที่จำเป็นต้องสอบวัดความรู้ ความสามารถตามที่กระทรวงศึกษาธิการและสถาบัน ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) กำหนด
                (2) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาสามารถบริหาร จัดการ และดำเนินการทดสอบทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลที่มีคุณภาพ
                (3) ประสานความร่วมมือลับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการทดสอบทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                (4) พัฒนาคลังข้อสอบมาตรฐานสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบ เพื่อสนับสนุนให้สถานศึกษาใช้ในการทดสอบทางการศึกษา
                (5) พัฒนาโปรแกรมเก็บข้อมูลคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกระบบทุกหมวดวิชา และส่งเสริมสนับสมุน ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
    4กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร สื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
            4.1 งานส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตร

                (1) ศึกษา วิเคราะห์ นโยบาย และจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งแนวโน้มและทิศทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
                (2) ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยทั้งในและต่างประเทศ
                (3) ส่งเสริม และพัฒนาให้บุคลากรทุกระดับของสถานศึกษาและภาคีเครือข่ายมีความรู้ความสามารถเพียงพอสำหรับการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องลับบริบทของชุมชน/ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ชุมชน/ท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                (4) พัฒนาระบบคลังหลักสูตรในระดับจังหวัด ที่เชื่อมโยงกับส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อเป็นแหล่งกลางในการรวบรวมและให้บริการหลักสูตรแก'สถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และผู้ที่ สนใจ
                (5) ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายสามารถพิจารณาเลือกใช้หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการและ ความจำเป็นของผู้เรียน
                (6) ส่งเสริม สนับสมุน ให้มีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร เพื่อนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและแนว ทางการพัฒนาหลักสูตร
            4.2 งานส่งเสริมและ พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและ เทคโนโลยี ทางการศึกษา
                (1) สำรวจ และวิเคราะห์ ความต้องการและความจำเป็นในการ ใช้สื่อ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีทางการศึกษา ของสถานศึกษา และภาคีเครือข่าย
                (2) ศึกษา และวิเคราะห์สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการ ศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ
                (3) พัฒนาและสนับสมุนสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการ ศึกษา ตามความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษาและ ภาคีเครือข่าย
                (4) ส่งเสริม และพัฒนาให้บุคลากรทุกระดับของสถานศึกษา และภาคีเครือข่ายมีความรู้ความสามารถเพียงพอสำหรับการ พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่สอดคล้อง ลับบริบทของชุมชน/ท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ชุมชน/ท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง
                (5) พัฒนาระบบคลังสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการ ศึกษา ในระดับจังหวัด ที่เชื่อมโยงลับส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อ เป็นแหล่งกลางในการรวบรวม และให้บริการแก่สถานศึกษา ภาคี เครือข่าย และผู้ที่สนใจ
                (6) ส่งเสริม สนับสมุน ให้สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายสามารถ พิจารณาเลือกใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียน
                (7) ส่งเสริม สนับสมุน ให้มีการวิจัยและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และ เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการ กำหนดนโยบายและแนวทางการพัฒนา